Y Series

ระบบปรับอากาศน้ำยาแปรผัน VRF ระบบปรับอากาศ
สำหรับอาคารรูปแบบใหม่ สามารถเชื่อมต่อ
INDOOR UNIT ได้สูงสุดถึง 50 เครื่อง

Temperature Operation Outside

เพื่อความเสถียรภาพในการทำงานของระบบ สามารถเดินท่อไกลกระจายได้ทั่วอาคาร คอนเดนซิ่งยูนิต ยังคงทำความเย็นได้ แม้อุณหภูมิภายนอกจะสูงถึง 52 องศา หรือต่ำถึง 10 องศา

Piping Length

เดินท่อไกล กระจายได้ทั่วอาคาร สามารถเดินท่อได้ไกลถึง 1,000 เมตร เหมาะสำหรับอาคารชุดขนาดใหญ่โดย คอนเดนซิ่งยูนิต สามารถต่อแฟนคอยล์ยูนิตได้ถึง 50 ชุด หรือ 130% ของกำลังทำความเย็น

  • ความยาวท่อน้ำยาจาก คอนเดนซิ่งยูนิต ถึงแฟนคอยล์ยูนิต : 165 เมตร
  • ระยะที่ไกลที่สุดจากข้อต่อแรกถึงแฟนคอยล์ยูนิต : 40 เมตร (สามารถเดินได้ไกลสุดถึง 90 เมตร)
  • ความสูงแนวดิ่งระหว่าง คอนเดนซิ่งยูนิต และแฟนคอยล์ยูนิต
    • ในกรณีที่ คอนเดนซิ่งยูนิต สูงกว่า : 50 เมตร
    • ในกรณีที่ คอนเดนซิ่งยูนิต ต่ำกว่า : 40 เมตร

ระยะห่างแนวดิ่งระหว่าง แฟนคอยล์ยูนิต : 15 เมตร

Compressor - Snap in Core

ด้วยเทคโนโลยีเฉพาะของ Mitsubishi Electric ช่วยเพิ่มให้คอมเพรสเซอร์มีประสิทธิภาพสูง โดยแกนภายในมอเตอร์ของคอมเพรสเซอร์ ออกแบบให้ประสานกันได้เหมือนจิ๊กซอร์ พร้อมทั้งมอเตอร์ถูกพันด้วยขดลวดอย่างแน่นหนา แทนการเชื่อม ทำให้คอมเพรสเซอร์มีขนาดเล็กแต่ได้ประสิทธิภาพสูง

Heat Inter Change (HIC) Circuit

“Double Pipe Heat Exchanger ช่วยลดอุณหภูมิของสารทำความเย็น” เพิ่มประสิทธิภาพและประหยัดพลังงาน ในการดูดซับความร้อนได้ดียิ่งขึ้น

Induction Heating Warmer

เทคโนโลยีเหนี่ยวนำความร้อน ลดการใช้พลังงาน โดยอุปกรณ์จะมีการเหนี่ยวนำจนเกิดความร้อนเพื่ออุ่นน้ำมันคอมเพรสเซอร์ ทุก 30 นาที ทำให้ประหยัดพลังงานมากกว่าการใช้ Crankcase heater

Automatic Rotation Control

ระบบหมุนเวียนการเปิดคอมเพรสเซอร์ สามารถสลับการทำงานอัตโนมัติ เพื่อเฉลี่ยการทำงานของคอมเพรสเซอร์ ให้มีอายุการใช้งานเท่ากันและยืดอายุการใช้งานได้นานขึ้น

Compressor - Multi-port Mechanism

3 Port ประหยัดพลังงานช่วง Part load คอมเพรสเซอร์แบบ Multi-port ลดการใช้พลังงานส่วนเกินในช่วง partial Load โดยเปิดใช้งานเพียง Sub-Port จึงช่วยเพิ่มประสิทธิภาพของเครื่องปรับอากาศ

Compressor - Low Pressure Shells

ออกแบบพิเศษ ลดการสึกหรอ ช่วยลดพื้นที่การทำงานของสารทำความเย็นด้านแรงดันสูง โดยการให้สารทำความเย็นด้านแรงดันต่ำไหลผ่านพื้นที่ส่วนมากของคอมเพรสเซอร์และสารทำความเย็นที่ยังเป็นของเหลวจะไหลลงด้านล่างของคอมเพรสเซอร์ก่อนเกิดการอัดเป็นแรงดันสูง เพื่อป้องกันความเสียหายของคอมเพรสเซอร์

Step 1

Suction สารทำความเย็น แรงดันต่ำ ไหลเข้าสู่คอมเพรสเซอร์

Step 2

Low-pressure state สารทำความเย็นที่ยังคงเป็นของเหลวอยู่จะตกค้างอยู่ที่ด้านล่างของคอมเพรสเซอร์

Step 3

Compression สารทำความเย็นที่เป็นสถานะแก๊สทั้งหมดจะถูกอัดที่ด้านบนของคอมเพรสเซอร์

Step 4

Discharge สารทำความเย็นแก๊สแรงดันสูงจะถูกส่งต่อไปยังขบวนการต่อไป

Y Series (PUCY)

Y Series (PUCY) (High Efficiency Model)